วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554

โปรตีน - คืออะไร ช่วยคุณได้ยังไง

โปรตีน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
ภาพ 3 มิติของไมโอโกลบิน (โปรตีนชนิดหนึ่ง)

โปรตีน (อังกฤษ: protein) เป็นสารอินทรีย์ซึ่งพบได้ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด มีโครงสร้างซับซ้อนและมีมวลโมเลกุลมาก โปรตีนมีหน่วยย่อยคือ กรดอะมิโน เรียงต่อกันด้วยพันธะเปปไทด์ โปรตีนมีหน้าที่สำคัญต่อโครงสร้างและกิจกรรมภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด รวมทั้งไวรัสด้วย โปรตีนในอาหารนั้นเป็นแหล่งของกรดอะมิโน ให้แก่สิ่งมีชีวิตแต่ไม่สามารถสังเคราะห์กรดอะมิโนเหล่านั้นได้เอง

โปรตีนเป็นหนึ่งในมหโมเลกุล (macromolecules) เช่นเดียวกันกับโพลีแซคาไรด์ (คาร์โบไฮเดรต) และกรดนิวคลีอิก (สารพันธุกรรม) ซึ่งเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต โปรตีนถูกค้นพบครั้งแรกโดย Jöns Jacob Berzelius ในปี พ.ศ. 2381 (ค.ศ. 1838)
เนื้อหา
[ซ่อน]

* 1 หน้าที่
* 2 โครงสร้างของโปรตีน
* 3 โปรตีนคอนจูเกต
* 4 อ้างอิง
* 5 แหล่งข้อมูลอื่น
o 5.1 ฐานข้อมูลและโครงการ
o 5.2 เว็บไซต์ทางการศึกษา
* 6 ดูเพิ่ม

[แก้] หน้าที่

* โปรตีนหลายชนิดทำหน้าที่เป็นเอนไซม์หรือหน่วยย่อยของเอนไซม์
* โปรตีนทำหน้าที่ทางด้านโครงสร้าง เช่น ระบบเส้นใยของเซลล์ (cytoskeleton) ผม เส้นไหม
* โปรตีนที่ควบคุมการเคลื่อนไหว เช่น แอกติน ไมโอซิน
* เป็นภูมิคุ้มกันคอยปกป้องร่างกายจากสิ่งแวดล้อม เช่น แอนติบอดี
* ขนส่งสารภายในระบบร่างกาย เช่น ฮีโมโกลบิน
* เป็นแหล่งสำรองพลังงานยามขาดแคลน เช่นโปรตีนในเมล็ดข้าวและน้ำนม
* โปรตีนที่เป็นฮอร์โมน
* โปรตีนให้ความหวานในพืช
* โปรตีนป้องกันการแข็งตัวของเลือดในปลาที่อยู่ในแถบขั้วโลก
* โปรตีนช่วยสร้างเซลล์เนื้อเยื่อใหม่

[แก้] โครงสร้างของโปรตีน

ลำดับของกรดอะมิโนจะเป็นตัวกำหนดโครงสร้างและการทำงานของโปรตีนนั้นๆ โดยทั่วไป โปรตีนมีโครงสร้างสามมิติสี่ระดับด้วยกันคือ

* โครงสร้างปฐมภูมิ เป็นโครงสร้างที่แสดงพันธะระหว่างกรดอะมิโนแต่ละตัว
o โครงสร้างทุติยภูมิ เป็นโครงสร้างที่แสดงการจัดตัวของกรดอะมิโนที่อยู่ใกล้กัน โปรตีนทุกชนิดจะมีโครงสร้างระดับนี้ โดยทั่วไปมีสองแบบคือ แบบ อัลฟาเฮลิก สายเปบไทด์ขดเป็นเกลียว กับแบบเบตา สายเปบไทด์อยู่ในรูปซิกแซก
o โครงสร้างตติยภูมิ แสดงการจัดตัวของกรดอะมิโนตลอดทั้งสาย พบในโปรตีนที่เป็นก้อน การจับตัวเป็นกลุ่มก้อนของสายโพลีเปบไทด์นั้นขึ้นกับลำดับกรดอะมิโนและสาร อื่นๆที่เข้ามาจับ
o โครงสร้างจตุยภูมิ แสดงการจับตัวระหว่างสายโพลีเปบไทด์ พบในโปรตีนที่ประกอบด้วยหน่วยย่อย (subunit) โดยแต่ละหน่วยย่อยคือสายโพลีเปบไทด์หนึ่งเส้น การจัดตัวขึ้นกับลำดับกรดอะมิโนและสารอื่นๆที่เข้ามาจับเช่นเดียวกัน

[แก้] โปรตีนคอนจูเกต

โปรตีนบางชนิดจะมีหมู่อื่นๆนอกจากกรดอะมิโนเข้ามาจับ โปรตีนนี้เรียกว่าโปรตีนคอนจูเกต (conjugated protein) ส่วนหมู่ที่มาจับเรียกว่าหมู่พรอสทีติก (prosthetic group) ตัวอย่างโปรตีนเหล่านี้ได้แก่

* ไลโปโปรตีน โปรตีนจับกับไขมัน
* ไกลโคโปรตีน โปรตีนจับกับคาร์โบไฮเดรต
* ฟอสโฟโปรตีน โปรตีนจับกับหมู่ฟอสเฟต
* ฮีโมโปรตีน โปรตีนจับกับฮีม (heme)
* ฟลาโวโปรตีน โปรตีนจับกับฟลาวิน นิวคลีโอไทด์ (Flavin nucleotide) เช่น ซักซิเนต ดีไฮโดรจีเนส (succinate dehydrogenase)
* เมทัลโลโปรตีน โปรตีนจับกับโลหะเช่น เฟอร์ริทิน (จับกับ Fe) อัลกอฮอล์ ดีไฮโดรจีเนส (จับกับ Zn) เป็นต้น

เพิ่มกล้ามเนื้อ – ทิปน่ารู้ในการสร้างกล้ามเนื้อ

ท่าเล่นกล้าม – ท่าเล่นกล้ามที่มีประสิทธิภาพที่ดีที่สุด

อาหารเสริมเพาะกาย – โปรตีนเชคแบบไหนดีที่สุด

ปวดกล้ามเนื้อ – รักษาอาการปวดกล้ามเนื้อหลังจากการออกกำลังกาย

ยืดกล้ามเนื้อ – ยืดกล้ามเนื้อให้ถูกวิธี





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น